ขอดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง ครุภัณฑ์ระบบเครือข่ายไร้สายวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 1 ระบบ
งานเทคโนโลยีและการเรียนรู้
ตามที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเงินรายได้ส่วนกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการระบบเครือข่ายไร้สายวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 1 ระบบ วงเงิน 1,300,000 บาท ข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดทำเอกสารคุณลักษณะครุภัณฑ์ (TOR) พร้อมกับใบเสนอราคาเปรียบเทียบ แนบมากับบันทึกข้อความฉบับนี้แล้ว และขอดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง ครุภัณฑ์ระบบเครือข่ายไร้สายวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 1 ระบบ วงเงิน 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน)
โดยขอเสนอรายชื่อคณะกรรมการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการเปิดซอง
1. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ
2. นายจำเป็น ปรีชา กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่งานพัสดุ กรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
1. นายธวัชชัย อดิเทพสถิต ประธานกรรมการ
2. นางสาวเนาวรัตน์ บุญนวล กรรมการและเลขานุการ
3. นายขวัญยืน ปานโม กรรมการและผู้ควบคุมงาน
5 ขอบเขตทางด้านเทคนิคของอุปกรณ์
5.1 อุปกรณ์กระจายสัญญาณสารสนเทศไร้สาย (Wireless Access Point) จำนวน 60 ตัว มีคุณสมบัติขั้นต่ำอย่างน้อยดังนี้
5.1.1 เป็นอุปกรณ์ Access Point แบบภายใน (Indoor Access Point) ใช้ได้ดีในย่านความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz เป็นอย่างน้อย
5.1.2 ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ไคลเอนต์ไร้สายที่อยู่บนมาตรฐาน IEEE802.11a, IEEE802.11b, IEEE802.11g, IEEE802.11n และ IEEE802.11ac wave 2 เป็นอย่างน้อย
5.1.3 รองรับความเร็วในการเชื่อมต่อที่ 867 Mbps (2x2 MIMO) ที่ 5 GHz และ 300 Mbps (2x2 MIMO) ที่ 2.4 GHz
5.1.4 อุปกรณ์จะต้องรองรับการเชื่อม Client Devices ได้ไม่น้อยกว่า 255 อุปกรณ์ต่อ Radio และสามารถกำหนด BSSID ได้ไม่น้อยกว่า 16 BSSIDs ต่อ Radio
5.1.5 มีพอร์ต 10/100/1000Base-T Ethernet ที่รองรับมาตรฐาน IEEE802.3af (PoE) เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอย่างน้อย 1 พอร์ต
5.1.6 อุปกรณ์ต้องมีความสามารถในการทำ Auto-sensing Link Speed และ MDI/MDX ได้
5.1.7 รองรับการทำ Dynamic Frequency Selection (DFS) ได้
5.1.8 เสาอากาศจะต้องเป็นแบบ Integrated Downtilt Omni-directional Antenna
5.1.9 มีความแรง (Gain) ไม่น้อยกว่า 3.5 dBi ที่ช่วงคลื่นความถี่ 2.4 GHz และ 6.9 dBi ที่ช่วงคลื่นความถี่ 5 GHz
5.1.10 อุปกรณ์จะต้องรองรับเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
5.1.10.1 802.11b : Direct-Sequence Spread-Spectrum (DSSS)
5.1.10.2 802.11a/g/n/ac : Orthogonal Frequency Division Multiplexing (OFDM)
5.1.11 อุปกรณ์จะต้องรองรับ Modulation Type ดังนี้
5.1.11.1 802.11b : BPSK, QPSK, CCK
5.1.11.2 802.11a/g/n/ac : BPSK, QPSK, 16-QAM, 64-QAM, 256-QAM
5.1.12 สามารถตรวจสอบสถานะผ่าน Console Interface ได้
5.1.13 มี Advanced Cellular Coexistence (ACC) เพื่อลด Interference ที่มาจาก Cellular Networks
5.1.14 รองรับ Cyclic Delay/Shift Diversity (CDD/CSD) เพื่อทำการปรับปรุง Downlink RF Performance
5.1.15 อุปกรณ์จะต้องมีความสามารถในการทำ Transmit Beam-forming (TxBF) ได้
5.1.16 อุปกรณ์จะต้องมี Bluetooth Low Energy (BLE)
5.1.17 อุปกรณ์จะต้องมีพอร์ตสำหรับ Direct DC Source
5.1.18 อุปกรณ์จะต้องรองรับการใช้งาน (Operating Temperature) ที่อุณหภูมิ 0 – 40 องศาเซลเซียส
5.1.19 ต้องผ่านมาตรฐาน CE Marked, UL/IEC/EN 60950 และ FCC เป็นอย่างน้อย
5.1.20 ต้องได้รับ Wi-Fi Alliance (WFA) Certified 802.11a/b/g/n/ac
5.1.21 มี LED แบบ Multi-color สำหรับ System และ Radio status
5.1.22 อุปกรณ์ Access Point จะต้องรองรับการเชื่อมต่อกับ Wireless LAN Controller เดิมที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ได้อย่างสมบูรณ์
5.1.23 ต้องมีการรับประกันสินค้าจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และไลเซนส์ (ถ้ามี) ของอุปกรณ์ที่เสนอเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยเมื่อหมดการรับประกันแล้ว ระบบทั้งหมดจะต้องยังคงใช้งานต่อไปได้ตามปกติ (แม้ไม่ได้รับการอัพเดท) จนกว่าอุปกรณ์จะชำรุดไม่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องซื้อลิขสิทธิ์ หรือต่อสัญญาประกันใด ๆ เพิ่มเติม
5.1.24 อุปกรณ์ทุกชิ้นต้องเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน และอยู่ในสายการผลิต ไม่เป็นอุปกรณ์ที่นำมาปรับปรุงสภาพใหม่ หรือแปรสภาพ (Reconditioned หรือ Refurbished) โดยต้องมีหนังสือรับรองที่ออกให้สำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะจากเจ้าของผลิตภัณฑ์สาขาประเทศไทย และมีสาขาของผู้ผลิตโดยตรงอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้การสนับสนุนด้านเทคนิค และสนับสนุนบริการหลังการขายแก่ลูกค้าในประเทศไทย
5.2 อุปกรณ์สลับสัญญาณสารสนเทศปลายทางแบบ Power over Ethernet (PoE Gigabit Access Switch) ชนิด 24-Port 10/100/1000Mbps จำนวน 20 ตัว มีคุณสมบัติขั้นต่ำอย่างน้อยดังนี้
5.2.1 ต้องมีขนาดของ Switching Capacity หรือ Switching Fabric ต่อหนึ่งอุปกรณ์ไม่น้อยกว่า 52 Gbps และมี Packet Forwarding Rate หรือ Throughput ไม่น้อยกว่า 38 Mpps
5.2.2 มีพอร์ต Gigabit Ethernet แบบ 10/100/1000Base-T จำนวนไม่น้อยกว่า 24 พอร์ต ซึ่งทำงานแบบ Autosensing และ Auto-MDIX ได้
5.2.3 มีพอร์ต Gigabit Ethernet แบบ 1000Base-X SFP จำนวนไม่น้อยกว่า 2 พอร์ต
5.2.4 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEEE 802.3at ได้ โดยสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้ารวมได้ไม่น้อยกว่า 185 Watts
5.2.5 ได้รับมาตรฐาน IEEE 802.1D, IEEE 802.1w, IEEE 802.1s และ IEEE 802.3x หรือดีกว่า
5.2.6 มี MAC Address Table ไม่น้อยกว่า 8,000 Entries
5.2.7 สามารถทำ VLAN ตามมาตรฐาน IEEE 802.1Q ได้พร้อมกันไม่น้อยกว่า 256 VLANs
5.2.8 สามารถรองรับ Jumbo Frame ขนาดไม่น้อยกว่า 9 kBytes หรือดีกว่า
5.2.9 สามารถทำงานแบบ Auto Voice VLAN ได้
5.2.10 สามารถทำ Routing แบบ Static ได้เป็นอย่างน้อย และมี Routing Table รองรับได้ไม่น้อยกว่า 32 Entries หรือดีกว่า
5.2.11 สามารถทำ Link Aggregation ตามมาตรฐาน IEEE802.3ad ได้ หรือดีกว่า
5.2.12 สามารถทำงานตามมาตรฐาน IEEE 802.1AB Link Layer Discovery Protocol ได้ หรือดีกว่า
5.2.13 มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครื่องลูกข่ายตามมาตรฐาน IEEE 802.1x ได้ หรือดีกว่า
5.2.14 สามารถทำ Access Control List (ACL) เป็นอย่างน้อย
5.2.15 สามารถทำงานแบบ Port Mirroring ได้
5.2.16 สามารถทำ IGMP MLD Snooping เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Multicast Traffic ได้ หรือดีกว่า
5.2.17 มีคุณสมบัติการทำงานแบบ Traffic Prioritization ตามมาตรฐาน IEEE 802.1p, CoS และ DSCP ได้ หรือดีกว่า
5.2.18 สามารถทำงานตามโปรโตคอลมาตรฐาน SNMP v1 v2c v3, RMON และ NTP ได้เป็นอย่างน้อย
5.2.19 สามารถบริหารจัดการผ่าน Web Management HTTP และ HTTPS ได้เป็นอย่างน้อย
5.2.20 สามารถติดตั้งใน Rack มาตรฐานขนาดหน้ากว้าง 19 นิ้วได้ หรือดีกว่า
5.2.21 สามารถใช้งานกับระบบไฟฟ้า 220 Vac และความถี่ 50 Hz ได้
5.2.22 ได้รับการรับรองมาตรฐาน UL, FCC และ EN เป็นอย่างน้อย หรือดีกว่า
5.2.23 ต้องมีการรับประกันสินค้าจากจ้าของผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนของ Hardware Software และ License (ถ้ามี) ของอุปกรณ์สลับสัญญาณสารสนเทศที่เสนอเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยเมื่อหมดการรับประกันแล้ว ระบบทั้งหมดจะต้องยังคงใช้งานต่อไปได้ตามปกติ (แม้ไม่ได้รับการอัพเดท) จนกว่าอุปกรณ์จะชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องซื้อลิขสิทธิ์ หรือต่อสัญญาประกันใด ๆ เพิ่มเติม
5.2.24 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกัน หรือเป็นผลิตภัณฑ์จากเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดียวกันกับ อุปกรณ์กระจายสัญญาณสารสนเทศไร้สาย (Wireless Access Point) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานร่วมกัน
5.2.25 อุปกรณ์ทุกชิ้นต้องเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน และอยู่ในสายการผลิต ไม่เป็นอุปกรณ์ที่นำมาปรับปรุงสภาพใหม่ หรือแปรสภาพ (Reconditioned หรือ Refurbished) โดยต้องมีหนังสือรับรองที่ออกให้สำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะจากเจ้าของผลิตภัณฑ์สาขาประเทศไทย และมีสาขาของผู้ผลิตโดยตรงอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้การสนับสนุนด้านเทคนิค และสนับสนุนบริการหลังการขายแก่ลูกค้าในประเทศไทย
5.3 สายนำสัญญาณทองแดงตีเกลียวชนิด Category 6 (UTP CAT6 Cable) จำนวน 20 ตำแหน่ง มีคุณสมบัติขั้นต่ำอย่างน้อยดังนี้
5.3.1 เป็นเป็นสายทองแดงแบบตีเกลียว UTP Category 6 ชนิด 4 คู่สาย มีตัวนำเป็นทองแดงขนาด 24 AWG เป็นสายนำสัญญาณที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B.2-1, TIA/EIA 568C, ISO/IEC 11801 Class E, EN 50173-1, IEC 61156-5, IEC 60332-1 เป็นอย่างน้อย
5.3.2 มีเปลือก (JACKET) เป็นแบบ FR PVC (Flame Retardant Polyvinyl Chloride) มีคุณสมบัติของเปลือกตามมาตรฐาน UL/NEC CM Rated ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม (RoHS Compliant Lead Free) เพื่อความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ติดตั้งใช้งาน มี RIP CORD เพื่อช่วยให้ง่ายในการบอกสาย และมีแกนกลาง (Filler) ผลิตจาก Polyethylene เพื่อควบคุมระยะห่างระหว่างคู่สาย และป้องกันสัญญาณรบกวนระหว่างคู่สายได้ดีขึ้น
5.3.3 มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าดังต่อไปนี้
5.3.3.1 มีค่า NEXT ไม่น้อยกว่า 55dB (ETL) ที่ความถี่ 250 MHz
5.3.3.2 มีค่า PSNEXT ไม่น้อยกว่า 55 dB (ETL) ที่ความถี่ 250 MHz
5.3.3.3 มีค่า Return Loss ไม่น้อยกว่า 37 dB (ETL) ที่ความถี่ 250 MHz
5.3.3.4 มีค่า ACR ไม่น้อยกว่า 29 dB (ETL) ที่ความถี่ 250 MHz
5.3.3.5 มีแถบความกว้างของความถี่ใช้งาน (Bandwidth) ไม่น้อยกว่า 250 MHz
5.3.3.6 มีค่า Conductor Resistance ไม่เกิน 6.658 Ohm /100m (Maximum)
5.3.4 สายนำสัญญาณทองแดงตีเกลียวทุกเส้นต้องติดตั้งเป็นเส้นเดียวกันตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายโดยไม่มีจุดต่อของสาย
5.3.5 สายนำสัญญาณทองแดงตีเกลียวทุกเส้นต้องมีรายงานผลการทดสอบสายด้วยเครื่องมือที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการทดสอบสายสัญญาณ